วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ตราประจำจังหวัด   เป็นรูปวงกลม  ภายในประกอบด้วย  สังข์  ประดิษฐานอยู่บนพานแว่นฟ้าภายในปราสาทใต้ต้นหมัน  ที่ใช้เป็นสัญลักษณ์์

ตำหนักนครหลวง

         




           ตำหนักในนครหลวง  ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสักฝั่งตะวันออกตำบลนครหลวง  อำเภอนครหลวง  เป็นสถานที่สำหรับพระเจ้าแผ่นดินประทับร้อนในระหว่างระยะทางเสด็จไปนมัสการพระพุทธบาท  จังหวัดสระบุรี

พระที่นั่งวิทูรทัศนา



          พระที่นั่งวิทูรทัศนา  เป็นหอสูง  สร้างอยู่บนเกาะระหว่างพระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรกับพระนั่งเวหาสน์จำรูญ  พระที่นั่งองค์นี้ทำเป็น 3 ชั้น

พระที่ั่นั่งเวหาศน์จำรูญ



          พระที่ั่นั่งเวหาศน์จำรูญ  อยู่ทางตอนเหนือ  พระยาโชฎึกราชเศรษฐี(ฟัก) สร้างถวายตามแบบอย่างพระที่นั่งของพระเจ้าแผ่นดินจีน

พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร



          พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร  อยู่ทางด้านตะวันออกตรงข้ามกับสระ  เป็นพระที่นั่งสร้างด้วยไม้  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างเป็นที่ประทับในเวลาหน้าน้ำ

วันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

พระที่นั่งวโรภาสพิมาน



          พระที่นั่งวโรภาสพิมาน  เป็นท้องพระโรงอยู่ข้างเหนือ  "สะพานเสด็จ"  ซึ่งเป็นท่าน้ำสำหรับเสด็จพระราชดำเนินขึ้นลง พระที่นั่งตรงนี้สร้างตรงพลับพลาที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

พระที่นั่งไอสวรรย์ทิพยอาสน์


          พระที่นั่งไอสวรรย์ทิพยอาสน์  เป็นปราสาทอยู่กลางสระ  ตรงกลางพระที่นั่งประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงเครื่องยศจอมพลทหารบก