วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วัดไชยวัฒนาราม


ประวัติโดยสังเขป
           วัดไชยวัฒนาราม ได้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2173 วัดไชยวัฒนารามบางครั้งเรียกว่า "วัดไชยยาราม" และ วัดไชยชนะทาราม   เป็นพระอารามหลวงในสมัยอยุธยา ซึ่งเป็นวัดที่   สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โปรดให้สถาปนาขึ้น
เป็นวัดอรัญวาศรี  ณ  บริเวณที่ดินซึ่งเป็นนิวาสสถานของพระราชชนนีในปีที่ขึ้นครองราชย์  สันนิษฐานว่าเป็นวัดประจำรัชกาลด้วย  ต่อมาในสมัยของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ  ได้ใช้วัดนี้ในฐานะเป็น  วัดฝ่ายอรัญวาสี   สำหรับพระราชทานเพลิงศพของพระราชวงศ์และขุนนางผู้สูงศักดิ์
          กรมพระราชวังบวรสถานมงคล  เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร  (เจ้าฟ้ากุ้ง)  กวีเอกสมัยอยุธยาตอนปลาย  ได้ถูกกล่าวโทษว่าเสด็จเข้ามาทำชู้กับเจ้าฟ้าสังวาลในราชวังหลายครั้ง  สืบสวนได้ความเป็นสัตย์จริง  จึงลงพระราชอาญาเฆี่ยนทั้งสองพระองค์จนดับสูแล้วนำศพไปฝังไว้  ณ  วัดไชยวัฒนารามทั้งสองพระองค์           

เมรุ ทิศเมรุราย

 เมรุทิศเมรุราย ตั้งล้อมรอบพระปรางค์อยู่ทั้งสิ้น 8 องค์ โดยผนังภายในเมรุเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังรูปใบไม้ใบกนก ซึ่งลบเลือนไปมากแล้ว ผนังด้านนอกของเมรุมีภาพปูนปั้นพุทธประวัติ จำนวน 12 ภาพ ซึ่งในปัจจุบันเลือนไปแล้วเช่นกัน แต่เมื่อ 20 ปีที่แล้วยังสามารถเห็นได้ชัด

เมรุเป็นทรงปราสาท ซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป 7 ชั้น รองรับส่วนยอดที่ ชื่อที่มานั้นนำมาจากเมรุ พระบรมศพพระมหากษัตริย์สมัยพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีแนวความคิด มาจากคติเขาพระสุเมรุอีกต่อหนึ่งพระ อุโบสถ 


พระอุโบสถ


สร้างอยู่ทางด้านหน้ากำแพงเมรุทิศเมรุราย นอกระเบียงคต ปัจจุบันเหลือแต่ฐาน ข้างๆมีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง มีกำแพงล้อมรอบโบราณสถานสำคัญแหล่านี้ถึง 3 ชั้น และ มีปรางค์เจดีย์ขนาดย่อมอีกจำนวนหนึ่งซึ่งสร้างเพื่อในภายหลัง
วัดไชยวัฒนารามเป็นวัดหลวงที่บำเพ็ญพระราชกุศลของพระมหากษัตริย์สืบต่อมา หลังจากนั้นทุกพระองค์ จึงได้รับการปฏิสังขรณ์สืบต่อมาทุกรัชสมัย เป็นสถานที่ถวายพระเพลิงศพพระบรมวงศานุวงศ์เกือบทุกพระองค์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศสิ้น พระชนม์ก็ได้ถวายพระเพลิงที่วัดนี้
ก่อนกรุงแตก พ.ศ. 2310 วัดไชยวัฒนารามถูกแปลงเป็นค่ายตั้งรับศึก และเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยา วัดไชยวัฒนารามจึงได้ถูกปล่อยให้ทิ้งร้าง ผู้ร้ายเข้าไปลักลอบขุดหาสมบัติ เศียรพระพุทธรูปถูกตัดขโมย มีการรื้ออิฐที่พระอุโบสถ และกำแพงวัดไปขาย แต่ในปี พ.ศ. 2530 กรมศิลปากรจึงได้เข้ามาอนุรักษ์จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2535

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น