วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

พลับพลาตรีมุข



          พลับพลาตรีมุข  ตั้งอยู่ด้านหลังของพระที่นั่งสรรเพชญปราสาทด้านตะวันตก  เป็นปราสาทตรีมุข  สร้างในสมัยใดไม่ปรากฎหลักฐาน 
หนังสือพระราชพงศาวดารออกชื่อพระที่นั่งองค์นี้เป็นครั้งแรก  ในแผ่นดินสมเด้จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ว่า เมื่อ พ.ศ.1970 เกิดเพลิงไหม้ที่พระที่นั่งนี้  สันนิษฐานว่าพระที่นั่งตรีมุของค์เดิมคงจะสร้างด้วยเครื่องไม้  เพราะปรากฏว่าพระที่นั่งต่าง ๆ เพิ่งจะก่อสร้างด้วยยอิฐ  ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายน์มหาราชเป็นครั้งแรก
           ต่อมาในปี พ.ศ.2450 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  โปรดให้ตั้งพิธีรัชมงคลที่พระราชวังโบราณ  เพื่อบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระรามาธิบดีที่ 2 ซึ่งพระองค์ได้เสวยราชสมบัติครบ 40 ปีเท่ากัน  กับทั้งถวายพระราชกุศลแด่อดีตมหาราชทุกพระองค์  ได้โปรดให้โบราณราชธานินทร์ (พร  เดชคุปต์)  ปลุกพลับพลาราชพิธีและปลูกสร้างปราสาทจำลองต่าง ๆ ขึ้น  ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาด้วยเครื่องไม้ตามรูปรากฐานเดิมที่ขุพบ  และในครั้งนั้นได้สร้างพลับพลาตรีมุขขึ้นบนฐาน  ซึ่งเข้าใจว่าเดิมคงเป็นพระที่นั่งตรีมุขด้วยเหมือนกัน  เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 7 เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ  ก็ทรงเสด็จมาสังเวยอดีตมหาราชโดยตั้งพระราชพิธีที่พลับพลาตรีมุข  ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2496 กรมศิลปากรได้ทำการซ่อมแซมใหม่  และเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน  2496 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีบวงสรวงอดีตมหาราชที่พระที่นั่งองค์นี้เช่นเดียวกับครั้งรัชกาลที่ 5 ทีื่ 6 และที่ 7 พระที่นั่งตรีมุของค์นี้ยังปรากฏอยู่จนกระทั่งปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น