วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ตำหนักนครหลวง

         




           ตำหนักในนครหลวง  ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสักฝั่งตะวันออกตำบลนครหลวง  อำเภอนครหลวง  เป็นสถานที่สำหรับพระเจ้าแผ่นดินประทับร้อนในระหว่างระยะทางเสด็จไปนมัสการพระพุทธบาท  จังหวัดสระบุรี
และเป็นที่ประทับแรมในระยะทางที่เสด็จไปประพาสเมืองลพบุรี  ตำหนักนี้สมเด็จกรมพระยาราชานุภาพ  ทรงสันนิษฐานว่าคงจะมีขึ้นในสมัยพบรอยพระบาทในแผ่นินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม  แต่เพียงมาประทับที่ถาวร  คือก่ออิฐถือปูนในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง  ในแผ่นดินนี้ทรงสร้างปราสาทขึ้นองค์หนึ่ง  อยู่ทางริมน้ำด้านเหนือตำหนักยังปรากฏซากให้เห็นอยู่
          เรื่องสร้างตำหรักนครหลวงนี้  มีเรื่องราวปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดารว่า  สมเด็จพระเจ้าปราสาททองโปรดให้ช่างไปถ่ายแบบมาจากปประเทศเขมร เมื่อ พ.ศ.2174  สร้างไว้ใกล้วัดเทพจันทร์  และที่เรียกว่าตำหนักนครหลวงก็นื่องมาจากสมเด็จพระเจ้าปราสาททองโปรดให้ช่างถ่ายแบบปราสาทศิลาที่เรียกว่า "พระนครหลวง" ในกรุงกัมพูชามาสร้างไว้เป็นสังเขป  เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ (ในรัชกาลพระเจ้าทรงธรรม เขมรแข็งเมือง แต่ปราบไม่สำเร็จ ครั้นถึงสมัยพระเจ้าปราสาททองพระองค์ทรงปราบเขมรได้สำเร็จ)
           ปราสาทนครหลวงเท่าที่ได้สำรวจแล้วในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นั้น ปรากฏว่าเป็นปราสาทที่ยังสร้างไม่เสร็จตามแบบอย่างที่ถ่ายมา  แม้แต่พระปรางค์องค์กลางก็ยังไม่ได้สร้าง  ทั้งนี้อาจเป็นเพราะสิ้นรัชกาลพระเจ้าราสาททองเสียก่อน  และรัชกาลต่อมาก็เกิดศึกสงครามกับพม่ามาตลอดซึ่งอาจทำให้การก่อสร้างหยุดชะงักอยู่เพียงนั้น  ปัจจุบันปราสาทนครหลวงได้ถูกเปลี่ยนแปลงให้เป็นวัดโดยทำเป็นมณฑปอยู่ตรงกลางแทนพระปรางค์ที่สร้างไม่สำเร็จ  และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทสี่รอยซึ่งถ่ายแบบอย่างมาจากพระบาทเชียงดาว  จังหวัดเชียงใหม่  นอกจากนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปอีกหลายองค์ในวิหารหลังกลางและที่ระเบียงชั้นที่ 2 อีกด้วย  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรตำหนักพระนครหลวงนี้ครั้งหนึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2421

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น