วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

พระที่ั่นั่งเวหาศน์จำรูญ



          พระที่ั่นั่งเวหาศน์จำรูญ  อยู่ทางตอนเหนือ  พระยาโชฎึกราชเศรษฐี(ฟัก) สร้างถวายตามแบบอย่างพระที่นั่งของพระเจ้าแผ่นดินจีน
ได้สั่งช่างฝีมือจากเมืองจีนมาก่อสร้างสั่งกระเบื้องเคลือบสำหรับมุงหลังคา ได้จำรัสเป็นภาพเรื่องสามก๊ก  และเครื่องใช้อื่น ๆ อีกหลายอย่างมาจากเมืองจีนมาาตกแต่งพระที่นั่งองค์นี้ (ฉะนั้นจึงมีลักษณะแตกต่างไปจากพระที่นั่งองค์อื่น คนทั่วไปมักนิยมเรียกกันว่า พระที่นั่งเก๋งจีน)  ภายในพระที่นั่งแต่งแบบจีนหมดทุกอย่าง แม้แต่ห้องสรงก็ทำท่อฝักบัวยื่นออกมาจากปากมังกร  เฉพาะห้องสรงนี้ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดให้เปลี่ยนเป็นแบบฝรั่งทั้งหมด  พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเสด็จประทับพระที่นั่งองค์นี้ในฤดูหนาวเสมอ  เพราะมีบานกระจกสำหรับกันลมหนาวได้  พระที่นั่งองค์นี้ได้รับการซ่อมแซมอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ.2511 ในรัชกาลปัจจุบัน
           สิ่งสำคัญในพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญที่ควรทราบ  คือ
           ก.  พระแท่นบรรทมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  จำหลักลายแบบจีนและปิดทอง
           ข.  โต๊ะทรงพระอักษรของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  จำหลักลายแบบจีน  พื้นโต๊ะลงรักขัดมัน 
           ค.  พระป้าย  คือเป็นป้ายพระนามของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  กับสมเด็จพระเทพสิรินทราบรมราชินีคู่หนึ่ง  เขียนเป็นตัวอักษรจีนลงบนแผ่นไม้จันทน์แล้วปิดทอง  ขอบตอนบนจำหลักเป็นลายแบบจีน  และของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถอีกคู่หนึ่ง  ประดิษฐานอยู่ในเก๋งไม้จำหลักลงรักปิดทองอีกทีหนึ่ง  หน้าเก๋งที่ประดิษฐานพระป้ายตั้งเครื่องบูชาแบบจีน
           ง.  หนังสือภาษาจีน  เรื่องพงศาวดารจีนสมัยต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก  หนังสือเหล่านี้เก็บไว้ในตู้หนังสือที่ห้องทรงพระอักษร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น