วันพุธที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

พระราชวังจันทรเกษม (วังหน้า)

        
          พระราชวังจันทรเกษม  หรือที่เรียกกันเป็นสามัญว่า  "วังหลัง"  ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก  ตรงที่เรียกกันว่าชื่อหน้า  เมื่อแรกสร้างมีชื่อปรากฏในหนังสือพงศาวดารว่า  "วังใหม่" 
สมเด็จพระรนเรศวรมหาราชโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อราว  พ.ศ.2120  ในขณะที่พระองค์ยังเป็นอุปราชครองเมืองพิษณุโลก  เหตุที่สร้างพระราชวังขึ้นตรงนี้ก็เพราะว่าเดิมเป็นชานพระนครอยู่นอกชานเมือง  ภายหลังสมเด็จพระมหาธรรมราชาโปรดให้ขยายกำแพงเมืองนอกไปจนถึงริมแม่น้ำ  ที่ดินในบริเวณนี้จึงว่างเปล่าไม่ใครมีบ้านเรือนราษฎร  และอีกประการหนึ่งด้านขื่อหน้านี้เป็นที่สำคัญ เพราะพม่ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาครั้งใดมักเข้าตีทางด้านนี้เสมอ  ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องเอาวังเจ้านายชั้นผู้ใหญ่มาั้ตั้งไว้  เพื่อช่วยรบข้าศึกที่ยกเข้ามาตีพระนครทางด้านนี้  และนอกจากที่กล่าวแ้วก็คือ  สมเด็จพระนเรศวรมหาราชมักจะเสด็จจากเมืองพิษณุโลกมาเฝ้าพระราชบิดาอยู่เนือง ๆ ไม่มีำหนักที่ใหญ่โตเหมาะสมกับพระเกียรติยศ  ที่จะใช้เป็นที่ประทับอยู่ในพระนคร  จึงจำเป็นต้องสร้างวังขึ้นใหม่สำหรับใช้เป็นที่ประทับ  เมื่อสมเด้จพระนเรศวรมหาราชเสด้จขึ้นครงราชสมบัติแล้ว  ก็ยังประทับอยู่ที่พระราชวังนี้อยู่หลายปีก่อนที่จะไปประทับที่พระราชวังหลวง  พระมหากษัตริย์ที่ขึ้นครองกรุงศรีอยุธยาต่อมาในระยะหลัง  เช่น  สมเด็จพระนารายมหาราชและสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ  ก็ได้ประทับอยู่  ณ  พระราชังจันทรเกษมนี้เป็นเวลาช้านาน  และทรงได้สร้างสถานที่ต่าง ๆ เพิ่มเติมขึ้นจากของเดิมหลายอย่าง
          พระราชวังจันทรเกษมนี้  ถึงแม้ว่าพระมหากษัตริย์ส่วนใหญ่แห่งกรุงศรีอยุธยาจะไม่ใช้เป็นที่ประทับแต่จะโปรดให้เป็นวังของพระมหาอุปราชาจนตลอดสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี  เมื่อเสียกรุงครั้งที่  2  ใน  พ.ศ.2310  พระราชวังจันทรเกษมถูกไฟไหม้  สถานที่ต่าง ๆ ในพระราชวังหักพังชำรุดทรุดโทรมลงไปเป็นอันมาก  และต่อมาในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้โปรดให้ลื้อเอาอิฐไปสร้างกรุงเทพมหานครเสียเป็นอันมาก  พระราชวังจึงถูกทอดทิ้งให้รกร้างอยู่เรื่อยมาจนถึงรัชกาลที่  4  คือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระองคืได้โปรดให้ซ่อมแซมขึ้นใหม่เฉพาะส่วนหนึ่งของวังเดิม  คือพระที่นั่งพิมานรัตยา  และพลับพลาจตุรมุข  สำหรับใช้เป็นที่ประทับเวลาเสด็จประภาสจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  พระราชวังจันทรเกษมจึงกลับเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ตลอดมาจนถึงรัชการที่  5  คือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เมื่อพระองค์โปรดให้สร้างพระราชวังขึ้นใหม่ที่เกาะบางปะอิน(พระราชวังบางปะอิน)  แล้ว  จึงพระราชทานให้เป็นที่ว่าการมณฑลอยุธยา  แต่ครั้นยุบมณเฑียรลงในรัชกาลที่  7  (พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว)  ก็โปรดให้ใช้เป็นศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยาต่อมาจนกระทั่งได้สร้างศาลากลางขึ้นใหม่ที่ตำบลประตูชัย  อำเภอพระนครศรีอยุธยาในปี พ.ศ.2484  หลังจากทางราการได้ย้ายที่ทำการศาลากลางจังหวัดไปอยู่ในที่แห่งใหม่แล้ว  กรมศิลปากรได้เข้าทำการรักษาดูแลต่อมา 
          ในคำให้การของชาวกรุงเก่า  ได้กล่าวว่า  พระราชวังจันทรเกษมนี้เดดิมมีกำแพงสองชั้นเหมือนวังหลวง  กำแพงชั้นนอกสูง  7  ศอก  ยาวโดยรอบ  24  เส้น  กับมีพระที่นั่งหลายองค์
          สถานที่ต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในพระราชวังจันทรเกษมทุกวันนี้ได้สร้างขึ้นในรัชการที่  4  ทั้งหมด  สร้างขึ้นตามแบบสมัยใหม่บ้าง  สร้างตามแผนผังของเดิมสมัยกรุงศรีอยุธยาบ้าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น